วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การสร้างตารางใน Dreamweaver

การสร้างตารางใน Dreamweaver

ขั้นตอนที่ 1 ให้เราเปิดโปรแกรม Dreamweaver ขึ้นมาก่อนค่ะ จากนั้นเรามาเริ่มสร้างตารางให้เว็บเพจของเรากันเลยค่ะ โดยคลิกที่รูปตาราง ตามภาพที่ 1 ค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 จะปรากฏไดอะล็อกบีอก Insert Table ขึ้นมา ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนกำหนดรายละเอียดของตารางที่เราต้องการจะสร้าง อันดับแรกก็คือกำหนดขนาดของตาราง โดยตามตัวอย่างจะขอสร้างตารางขนาด 3 แถว 3 คอลัมน์ โดยให้มาขนาดความกว้างของตารางเท่ากับ 300 pixels และกำหนดขอบของตารางให้เป็นแบบไม่มีขอบ

เมื่อกำหนดได้ตามต้องการแล้วคลิกที่ปุ่ม OK



และแล้วเราก็จะได้ตารางขนาด 3 แถว 3 คอลัมน์ และกว้าง 300 pixels หากเรา Save ไฟล์แล้วดูผลลัพธ์ ก็จะไม่เห็นอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเรากำหนดให้เป็นแบบไม่มีขอบ


โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะกำหนดให้เป็นแบบไม่มีขอบ ในกรณีที่ใช้สำหรับจัดตำแหน่งของข้อความเนื้อหาซะเป็นส่วนใหญ่ และหากเราต้องการแบบให้แสดงผลด้วย เราก็จะต้องปรับแต่งรายละเอียดให้กับตารางด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใส่เส้นขอบ การใส่สีขอบตาราง การใส่สีให้พื้นของตาราง และรวมไปถึงการใส่ภาพให้กับพื้นของตาราง 

ส่วนประกอบของ Dreamweaver

ส่วนประกอบของ Dreamweaver 8
        ก่อนที่เราจะใช้งาน Dreamweaver 8 เราควรรู้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Dreamweaver 8 ในเบื้องต้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้งานได้สะดวก

  1. เมื่อคลิกเมาส์เข้าสู่โปรแกรม Dreamweaver 8 และคลิกเลือก HTML จะเกิดหน้าจอ ดังภาพ

    ส่วนประกอบที่สำคัญของหน้าจอนี้ มีดังนี้
    • ส่วนที่ 1 แถบเมนู (Menu bar) เป็นแถบที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม
    • ส่วนที่ 2 แถบกลุ่มเครื่องมือ (Insert bar) เป็นแถบที่รวมเครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างเว็บ
    • ส่วนที่ 3 แถบเครื่องมือ (Toolbar) รวมปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้งานบ่อย
    • ส่วนที่ 4 แถบสถานะ (Status bar) แสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่กำลังทำอยู่
    • ส่วนที่ 5 Property Inspector เป็นส่วนกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บและ สามารถปรับแต่งค่าขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้
  2. แถบแสดงสถานะที่ควรรู้จัก ดังภาพ

    • ส่วนที่ 1 ส่วนไว้เลือกแท็ก HTML: จะแสดงโค้ด HTML ของเว็บเพจ
    • ส่วนที่ 2 เป็นเครื่องมือปรับการแสดงผลเว็บเพจขณะทำงาน:  Zoom Tool สำหรับซูมเข้าออกเพื่อขยายหน้าจอการแสดงผล หรือใช้  Hand Tool เลื่อนดูหน้าเว็บในส่วนที่มองไม่เห็น
    • ส่วนที่ 3 แสดงขนาดหน้าต่างของเว็บเพจ Window Size: ที่เรากำหนด สามารถเลือกกำหนดเป็นขนาดและเปอร์เซ็นต์
    • ส่วนที่ 4 แสดงขนาดเอกสารและเวลาในการโหลด: แสดงเวลาโดยประมาณ ที่ใช้ในการโหลดหน้าเว็บเพจที่เราสร้าง

    กลุ่มเครื่องมือ
    การเข้าถึงกลุ่มเครื่องมือ ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่มตัวเลือก ดังภาพ


    และคลิกเลือกกลุ่มเครื่องมือที่ต้องการได้ ดังภาพ


    กลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างงานเว็บเพจ มีอยู่ 8 กลุ่มที่ควรรู้จัก ดังนี้
    • กลุ่มเครื่องมือ Common: เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่เราใช้งานบ่อย เช่น การแทรกภาพ แทรกตาราง เป็นต้น

    • กลุ่มเครื่องมือ Layout :เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ใช้จัดองค์ประกอบบนหน้าเว็บ เช่น การจัดวางข้อความให้อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นต้น

    • กลุ่มเครื่องมือ Forms :เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อในการสร้างแบบฟอร์ม ปุ่ม ตัวเลือก ลักษณะต่าง ๆ เช่น check box, radio button เป็นต้น

    • กลุ่มเครื่องมือ Text :เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อสำหรับการจัดวางตำแหน่ง และปรับแต่งตัวอักษรบนหน้าเว็บ

    • กลุ่มเครื่องมือ HTML :เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อสำหรับจัดการภาษา HTML บนหน้าเว็บ

    • กลุ่มเครื่องมือ Application :เป็นส่วนที่รวบรวมเครื่องมื่อสำหรับการสร้าง Application ติดต่อกับฐานข้อมูล

    • กลุ่มเครื่องมือ Flash elements: เป็นเครื่องมือสำหรับนำองค์ประกอบที่สร้างจากโปรแกรม Flash มาวางบนหน้าเว็บ

    • กลุ่มเครื่องมือ Favorites: เราสามารถเลือกเครื่องมือที่ใช้บ่อยจากแต่ละกลุ่มเครื่องมือมาใส่ในเมนูนี้ได้ตามความต้องการ

    การเปลี่ยนรูปแบบการเรียกใช้งานกลุ่มเครื่องมือ
    ในกลุ่มเครื่องมือ คำสั่งสุดท้าย คือ Show as Tabs ดังภาพ



    Show as Tabs คือคำสั่งที่ให้แสดงกลุ่มเครื่องมือแยกเป็นแท็บ ๆ เราสามารถคลิกเลือกแท็บของเครื่องมือที่ต้องการใช้งานได้ตามความต้องการ ดังภาพ



    การกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บ (Property Inspector)
         การกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ บนหน้าเว็บ สามารถกระทำได้เมื่อเราคลิกเลือกภาพ ตาราง ตัวหนังสือหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ก็จะปรากฏ Property Inspector ขององค์ประกอบนั้น ๆ ให้เราสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ
    ตัวอย่าง 
    จากภาพข้างล่าง ถ้าเราคลิกเลือกที่ภาพ จะเกิด Property Inspector ที่แสดงคุณสมบัติต่างๆ ของภาพ ซึ่งเราสามารถปรับแต่งได้


      ขั้นตอนการนำภาพเข้าและตกแต่งภาพ
    1. คลิกที่รูป  เพื่อนำรูปภาพเข้ามาวางบนหน้าเว็บเพจ
    2. คลิกเมาส์ที่รูปภาพ
    3. Property Inspector ของรูปภาพจะเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถจัดการกับรูปภาพได้ตามต้องการ เช่น การเชื่อมโยงไปยังไฟล์อื่น เมื่อคลิกภาพนี้ การกำหนดตำแหน่งให้คลิกได้ในภาพ ตลอดจนการกำหนดขนาดของภาพ เป็นต้น
    กลุ่มหน้าต่างพาเนล (Panal Group)
         นอกจากนี้ โปรแกรม Dreamweaver 8 ยังมีหน้าต่างพาเนลต่าง ๆ ที่เพิ่มความสามารถในการจัดการและออกแบบหน้าเว็บเพจ ซึ่งแต่ละพาเนลจะมีความสามารถในการจัดการหน้าเว็บเพจได้ไม่เหมือนกัน เราเรียกเปิดพาเนลได้จากเมนู Window > และเลือกพาเนลที่ต้องการ ดังภาพ



    มุมมองการทำงานใน Dreamweaver
         ในการสร้างงานเว็บเพจ เราสามารถเลือกมุมมองในการทำงานได้ 3 รูปแบบ โดยคลิกที่รูปไอคอน  ที่อยู่ใน Toolbar แถบเครื่องมือมาตรฐาน ดังนี้

    1. Show Code View คลิกที่  จะปรากฏมุมมองแสดงโค้ด HTML ของหน้าเว็บเพจที่เรากำลังทำงานอยู่ ถ้าเรามีความรู้เรื่องภาษา HTML ก็สามารถแก้ไขโค้ดได้ตามต้องการ ดังภาพ


    2. Show Code and Design View คลิกที่  จะปรากฏมุมมองที่แสดงทั้งโค้ดและหน้าเว็บเพจที่เรากำลังทำงานอยู่ สำหรับผู้ที่ต้องการดูโค้ดไปพร้อมกับการออกแบบหน้าจอ ดังภาพ


    3. Show Design View คลิกที่  จะแสดงหน้าจอที่เราออกแบบเว็บเพจซึ่งประกอบด้วยภาพ ข้อความ ตาราง หรื่ออื่น ๆ โดยไม่มีการแสดงโค้ดต่าง ๆ มาเกี่ยวข้อง ดังภาพ

วิธีติดตั้งไฟล์ Adobe dreamweaver CS6

1. แตกไฟล์โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจะได้ดังรูป ด้านล่าง 

2. เข้าไปที่ โฟลเดอร์ SOFTWARE จะพบไฟล์ Setup ให้ดับเบิ้ลคลิก

 3. หลังจากดับเบอลคลิกแล้ว โปรแกรมจะเริ่มตรวจสอบความพร้อมของเครื่อง อาจมีการร้องขอให้ Restart ก่อน
 4. หลังจากที่ผ่านขั้นตอนที่ 3 แล้ว โปรแกรมจะให้เลือกรูปแบบการติดตั้ง ให้เลือก Try หากไม่มีรหัสแท้
 5. กด Accept ยอมรับเงื่อนไขในการใช้งาน
 6. เลกไดเรกทอรี ที่จะติดตั้ง โปรแกรม
(ถึงจุดนี้บางคนอาจจะติดตั้งไม่ได้เนื่องจากไม่ได้ปลดอินเตอร์เน็ตออก )

 7. เริ่มการติดตั้งโปรแกรม ซึ่งในเวลาไม่นาน
 8. เสร็จสิ้นการติดตั้งโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6
 9. ทดลองเข้าโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 
10. ตอบ OK ผ่านไปได้เลย

 11. หน้าตาของโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 พร้อมใช้งานแล้ว

ตัวอย่างที่เราได้สร้างขึ้น

ตัวอย่างที่เราได้สร้างขึ้น









หน้าต่างใน adobe dreamweaver cs 6 





เมื่อเข้าแสดงใน เบาว์เซอร์ internet explorer



ปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบ

ปัญหาการแต่งกายผิดระเบียบ
สาเหตุ : ธรรมชาติของวัยรุ่น  ท้าทายครู  อยากเด่นอยากดัง  อยากให้คนอื่นสนใจ  อยากให้เพื่อนทึ่งและยอมรับว่า ใจถึง  ไม่กลัวเกรงครู  อยากให้ตัวเองดูดี

วิธีการแก้ไขที่โรงเรียน :
1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดี   พยายามเข้าใจ  จิตใจและความต้องการของวัยรุ่น
2.ซักถามถึงแรงจูงใจที่ทำผิด  รับฟังด้วยใจเป็นกลาง  สอบถามรายละเอียด  เช่น  ไปซอยผมที่ไหน  แพงไหม  ใครแนะนำ  คิดนานไหมก่อนจะไปทำ  เอาเงินที่ไหนไปทำ  ปรึกษาใครบ้าง  คิดว่าจะเกิดปัญหาใดบ้างไหม  ถ้าเกิดปัญหาจะทำอย่างไร
3.สอบถามเรื่องกฎระเบียบ รู้หรือไม่ว่าผิดกฎ รู้ผลที่จะตามมาหรือไม่ ถ้าถูกลงโทษจะทำอย่างไร
ถ้าเปลี่ยนแปลงได้  อยากจะทำอย่างเดิมหรือไม่ ตอนนี้คิดจะทำอย่างไรต่อไป
4.ชมการคิด  การวางแผนที่ดี
5.ชวนคิดในความคิดที่ไม่เหมาะสม  หรือสิ่งที่จะเป็นปัญหาตามมา
6.ชักจูงให้ทำในทางที่ถูก  และผลดีที่จะเกิดตามมา
7.สอบถามความต้องการ  อยากให้ครูช่วยอย่างไร  เช่น  แนะนำร้านตัดผมที่ดี
8.ช่วยคิดในทางเลือกที่ต้องการ  แต่อาจทำให้ถูกต้อง  เช่น  การซอยผมอาจจะทำได้ในช่วงปิดเทอม   ถ้าเจาะหู  คงสวมต่างหูได้เฉพาะนอกโรงเรียน  เป็นต้น
9.ชมพฤติกรรมด้านดี หรือความพยายามที่จะดีขึ้น
10.หลีกเลี่ยงการพูดเหน็บแนม  ด่าทอ  เสียดสี หรือการใช้คำพูดที่บั่นทอนจิตใจต่อหน้าผู้คน เพราะนักเรียนจะ ยิ่งรู้สึกเกลียดกฎระเบียบ  เกลียดครูผู้ทำงาน  แล้วจะเกลียดโรงเรียน  ไม่รักสถาบันตัวเอง

การวิจัยเกี่ยวกับการแต่งกายของนักเรียน

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาการแต่งกายซึ่งการแต่งกายเป็นประเด็นการศึกษาที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่รับความสนใจจากผู้ศึกษาทางสังคมทั้งนี้เพราะการแต่งกายเป็นสิ่งสะท้อนที่สำคัญของวัฒนธรรม ค่านิยม ในเรื่องการแต่งกายในสังคม
การแต่งกายของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญเพราะการแต่งกายที่อยู่ในกฎระเบียบถือเป็นการสร้างวินัยสร้างความรับผิดชอบในตัวเองการแต่งกายที่มีสุภาพเรียบร้อยถูกกฎระเบียบของโรงเรียนนั้น สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนได้ เป็นผลดีต่อผู้สวมใส่เป็นการเคารพให้ เกียรติโรงเรียนที่ตนได้ศึกษาอยู่ แต่ในปัจจุบันพบว่าการแต่งกายของนักเรียนจะเป็นไปตามกระแสสมัยนิยมหรือแฟชั่น ซึ่งแฟชั่นที่นิยมในปัจจุบันนั้นเป็นการแต่งกายที่ผิดระเบียบ เช่น การใส่ถุงเท้าสั้นมาโรงเรียนการแต่งกายตามแฟชั่นนั้นก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองและการใช้จ่ายที่ฟุ้มเฟือยเกินความจำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการแต่งกายผิดระเบียบนั้นมีผลกระทบในอีกหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของโรงเรียนเป็นอย่างมากและถือว่าบุคคลนั้นไม่ให้เกียรติแกโรงเรียนอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทำให้ผู้พบเห็นเกิดความเสื่อมศรัทธาในตัวนักเรียน ที่ปฎิบัติตัวไม่ถูกระเบียบ
        ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องศึกษาทัศนคติของนักเรียนโรงเรียนสรรพวิทยาคม เกี่ยกับปัญหาการแต่งกายเพื่อที่ผู้บริหารละบุคลากรที่เกี่ยวข้องและการดูแลเกี่ยวกับกฎระเบียบการแต่งกายของนักเรียนสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไข้ให้นักเรียนแต่งกายให้ถูกระเบียบและให้นักเรียน ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของการแต่งกายมากยิ่งขึ้นโดยการวิจัยครั้งนี้


ที่มา http://www.dek-d.com/board/view/3059460/

โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ระบบการบันทึกพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียน
โดย  นางสาวณัฐธิดา ทองกูล   เลขที่ 25  ม.5/12
         นางสาวนีรชา ป้านนาค   เลขที่ 27  ม.5/12
         นางสาวอัญชลี สุทธิรักษ์  เลขที่ 28  ม.5/12
 1.  ที่มาและความสำคัญ  :  ปัจจุบันนักเรียนใน แต่ละโรงเรียนมักจะตามกระแสนิยม ทั้งจากคนรอบข้าง นักแสดง และสื่อต่างๆจากโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย  และสื่ออื่นๆอีกมากมาย แล้วนำมาทำเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ มีทั้งความประพฤติที่ดี และไม่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของทรงผมและเครื่องแต่งกายที่ผิดๆ ทำให้เกิดค่านิยมที่ผิดไปจากกฎระเบียบของโรงเรียน ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อโรงเรียนและตัวนักเรียนเอง ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องหามาตรการในการแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไป แต่ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ให้หมดไปได้เสียที อีกทั้งในปัจจุบันยังมีนักเรียนออกมาเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขกฎระเบียบใหม่ออกทางสื่ออินเทอร์เน็ตมากมาย ทำให้เกิดการขัดแย้งทางความคิดกันในหลายๆฝ่าย แต่ถึงอย่างไรกฎ ก็ต้องเป็นกฎอยู่ดี เพราะการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ผ่านมาของนักเรียนรุ่นก่อนๆก็ไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียตรงไหนหากจะปฏิบัติเช่นนั้นต่อก็คงจะไม่เกิดผลเสียอะไรเช่นกัน อีกทั้งทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อความเป็นนักเรียนอีกด้วย                                                               
 2. วัตถุประสงค์ : 
         1. เพื่อพัฒนาโปรแกรมระบบบันทึกพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียน โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
         2. เพื่อปรับปรุงให้มีความสอดคล้อง ตรงตามเป้าหมายของผู้ใช้งาน
         3. เพื่อเป็นการควบคุม และจัดระเบียบนักเรียนภายในโรงเรียo

 3. ขอบเขตของการศึกษา : 
          การใช้งานของระบบการบันทึกพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

 4. ประโยชน์ของการพัฒนา
   1.การตรวจการแต่งกายของนักเรียนในแต่ละครั้ง เป็นไปอย่างมีระบบ รวดเร็ว สะดวกขึ้น และมีการบันทึกข้อมูลที่แน่ชัด     
     2. 
กระตุ้นให้นักเรียนที่ผิดระเบียบเกิดการปรับปรุงตัวและแก้ไขในทางที่ถูกต้อง สร้างระเบียบวินัยในตัวนักเรียน